เกี่ยวกับเรา

บริษัท ทีทีที คอร์ปอเรชั่น จำกัด

บริษัท ทีทีที คอร์ปอเรชั่น จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท โตโยกซ์ เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 เป็นผู้นำเข้าสายยางอุตสาหกรรม รวมถึงข้อต่อ ภายใต้แบรนด์ TOYOX ซึ่งเป็นแบรนด์อันดับ 1 เรื่องสายยางจากประเทศญี่ปุ่น เป็นสินค้าที่มีคุณภาพได้รับการยอมรับมาอย่างยาวนานกว่า 50 ปี และมีความหลากหลายให้เลือกใช้งานตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลำเลียงลม น้ำ น้ำมัน อาหาร/ยา(มีใบรับรองจากประเทศญี่ปุ่น JFSL, FDA, USP Class VI) และสารเคมีต่างๆ เหมาะกับงานที่มีแรงดัน แรงดูด งานอุณหภูมิสูง งานที่ต้องเคลื่อนไหว งานพ่นสี งานเกษตร ส่งน้ำ พ่นปุ๋ย พ่นยา คาร์แคร์ ฯลฯ

นอกเหนือจากสินค้าที่มีคุณภาพแล้ว ทางบริษัทฯ ยังมีบริการให้คำปรึกษาเรื่องการใช้งาน ท่ออ่อน สายยาง รวมทั้งข้อต่ออุตสาหกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะช่วยให้ท่านเลือกใช้ท่ออ่อนหรือสายยางได้อย่างเหมาะสม มีความปลอดภัย ได้มาตรฐาน ช่วยประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่าย

วิสัยทัศน์

ศูนย์กลางการนำเข้าและกระจายสินค้า สายยาง ข้อต่อ ที่มีคุณภาพ ด้วยบริการระดับโลก ครอบคลุมทั่วอาเซียน

กิจกรรมองค์กร

สื่อองค์กร

ข้อมูลองค์กร

TTT ได้รับรางวัลวิสาหกิจต้นแบบดีเลิศ ระดับเพชร ประจำปี 2562 จากโครงการส่งเสริมผลิตภาพและสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) ซึ่งจัดโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

TTT  เป็น 1 ใน 10 บริษัท SME กลุ่มแรกที่ได้รับการรับรองเป็นสมาชิกของแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต จากคณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต

TTT มีความมุ่งมั่นในการทำธุรกิจอย่างโปร่งใสและจะเผยแพร่เจตนารมณ์นี้ไปยังคู่ค้า เพื่อให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจอย่างเป็นธรรม และมุ่งหวังว่าแนวคิดในการต่อต้านการทุจริตนี้จะขยายไปในระดับประเทศต่อไป

นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม

(Corporate Social Responsibility: CSR)

บริษัท โตโยกซ์ เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด มีเจตนารมณ์ที่จะดำเนินธุรกิจให้เจริญเติบโตบนพื้นฐานของธรรมาภิบาล ควบคู่ไปกับการดูแลรับผิดชอบต่อสังคม โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้ภาคอุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมได้อย่างเป็นสุข

เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์และแนวคิดดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯ จึงกำหนดนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดังต่อไปนี้

    1. บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้วยความสุจริต โปร่งใส เป็นธรรม และสามารถตรวจสอบได้ โดยมุ่งเน้นการเจริญเติบโตของบริษัทฯ ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานและคุณภาพของสังคม รวมทั้งดูแลผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
    2. บริษัทฯ ให้ความสำคัญในเรื่องการบริการที่ดีเพื่อความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า และมีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปรับปรุงตามข้อเสนอแนะและ/หรือข้อร้องเรียนจากลูกค้า
    3. บริษัทฯ สนับสนุนและส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและมีนโยบายเป็นกลางทางการเมือง
    4. บริษัทฯ สนับสนุนและส่งเสริมการเคารพในสิทธิมนุษยชนโดยไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ และบุคคลทั่วไป โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม
    5. บริษัทฯ กำหนดให้ผู้บริหารทุกฝ่ายให้ความร่วมมือ และส่งเสริมให้พนักงานร่วมกันดำเนินงานตามนโยบายนี้ให้ประสบความสำเร็จ

จรรยาบรรณธุรกิจ

ด้วยบริษัท โตโยกซ์ เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด (บริษัทฯ) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจและวิชาชีพต่างๆ จึงได้รวบรวมและกำหนดเป็นจรรยาบรรณธุรกิจ รวมถึงแนวปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณเอาไว้ ดังต่อไปนี้

แนวทางจรรยาบรรณ

  1. บุคคลที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณ ได้แก่ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน โดยทุกคนมีหน้าที่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และให้ความสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ ไม่ละเลยหรือเพิกเฉยเมื่อพบเห็นการไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ
  2. ข้อแนะนำเกี่ยวกับจรรยาบรรณ
  • ทำความเข้าใจเนื้อหาสาระ และทบทวนความรู้ความเข้าใจจรรยาบรรณฉบับนี้อย่างสม่ำเสมอ
  • ควรรายงานการกระทำที่เป็นความผิดต่อผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที บริษัทฯ จะรับเรื่องราวนั้นไว้สอบสวนข้อเท็จจริงอย่างเป็นธรรม และเป็นความลับ
  • พนักงานพึงทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบของตน มีการทบทวนความรู้ความเข้าใจอย่างสม่ำเสมอ
  • เมื่อมีข้อสงสัย ควรสอบถามหรือปรึกษาผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลที่บริษัทฯ กำหนดให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ
  • พนักงานพึงให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงแก่บุคคลที่ได้รับมอบหมาย เมื่อมีการกล่าวหาว่ามีการไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และต้องดำเนินการอย่างเป็นธรรมต่อผู้ถูกกล่าวหา ผู้กล่าวหา และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ
  • ผู้บังคับบัญชาทุกระดับควรประพฤติตนเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และเสริมสร้างบรรยากาศการกำกับดูแลที่ดีในการปฏิบัติงาน
  • เมื่อได้รับข้อร้องเรียน ผู้มีหน้าที่รับข้อร้องเรียนจะต้องรวบรวมข้อเท็จจริงด้วยตนเองหรือมอบหมายให้ผู้ที่เหมาะสมดำเนินการและรายงานให้ผู้ที่มีอำนาจเกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ ดำเนินการประมวลผล กลั่นกรองข้อมูลและดำเนินการเพื่อระงับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณที่กล่าว

ข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณ

  1. การปฏิบัติต่อกัน

     การปฏิบัติต่อกันระหว่างพนักงาน

  • บริษัทฯ ตระหนักถึงสิทธิในความเป็นมนุษย์และความเท่าเทียมกันโดยมีแนวปฏิบัติต่อผู้เกี่ยวข้องด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด เนื่องจากความเหมือนหรือความแตกต่างไม่ว่าจะทางกายหรือจิตใจ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา เพศ อายุ การศึกษา หรือเรื่องอื่นใด
  • พนักงานจะต้องปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน
  • กระบวนการสรรหา การพิจารณาผลงานความดีความชอบ ต้องดำเนินการอย่างถูกต้องและเป็นธรรม
  • ในการปฏิบัติหน้าที่ พึงหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการแตกต่างทางกายหรือจิตใจ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา เพศ อายุ การศึกษา หรือเรื่องอื่นใดที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง
  • ช่วยกันสอดส่องดูแลให้สภาพการทำงานปิดจากการกดขี่ข่มเหงหรือการกระทำที่ไม่เป็นธรรม เมื่อได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมให้พูดคุยทำความเข้าใจในเบื้องต้นกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ให้เกียรติและเคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

     การปฏิบัติต่อลูกค้า ผู้ประกอบการ หุ้นส่วน และผู้ที่เกี่ยวข้อง

  • บริษัทฯ ยึดมั่นและปฏิบัติต่อลูกค้า คู่ค้า ผู้ประกอบการ และหุ้นส่วนในการดำเนินธุรกิจอย่างซื่อสัตย์และยุติธรรม
  • ปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดต่างๆ ที่ระบุไว้ในสัญญา และข้อตกลงต่างๆ ที่บริษัทฯ ได้กระทำการไว้กับคู่สัญญา
  • พนักงานมีหน้าที่อำนวยความสะดวกและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบของบริษัทฯ และจากผู้สอบบัญชีภายนอกในการปฏิบัติงานตรวจสอบ
  1. การให้หรือรับทรัพย์สิน

     การให้หรือรับทรัพย์สิน ของขวัญ ของที่ระลึก หรือผลประโยชน์อื่นใด มีข้อปฏิบัติดังนี้

  • ไม่รับ หรือ ให้ของขวัญ ของที่ระลึก ที่เป็นเงินสด เช็ค พันธบัตร หุ้น ทองคำ อัญมณี อสังหาริมทรัพย์ หรือสิ่งของในทำนองเดียวกันกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ตนได้เข้าไปติดต่อประสานงาน ทั้งในหน่วยงานรัฐ และหน่วยงานเอกชน
  • ไม่รับ หรือ ให้ของขวัญ การเลี้ยงรับรอง หรือผลประโยชน์อื่นใด เพื่อเป็นการจูงใจให้กระทำผิดในวิชาชีพ หรือเพื่ออำนวยความสะดวก เพื่อใช้เป็นหลักประกันหรือเพื่อเร่งการดำเนินการบางอย่างซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ หรือคู่ค้าต้องทำเป็นกิจวัตร หรือต้องปฏิบัติตามหน้าที่ ยกเว้นการรับหรือให้สิ่งของที่มอบให้ตาม ธรรมเนียม มารยาทประเพณี และวัฒนธรรมตามโอกาส โดยต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติของบริษัทฯ
  1. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • พนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ขัดผลประโยชน์กับบริษัทฯ ทั้งนี้ การปฏิบัติหน้าที่จะต้องยึดประโยชน์ของบริษัทฯ เป็นสำคัญ ภายใต้ความถูกต้องตามกฎหมายและจริยธรรม
  • ไม่ควรประกอบกิจการที่เป็นการแข่งขัน หรือลักษณะเดียวกันกับบริษัทฯ
  • ไม่ควรเป็นหุ้นส่วน หรือถือหุ้น หรือเป็นผู้บริหารในกิจการที่เป็นการแข่งขันหรือมีลักษณะเดียวกับบริษัทฯ แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบทันที
  • กรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับธุรกิจ หรือเหตุการณ์ใดๆ ที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทฯ ควรรายงานต่อผู้บังคับบัญชาทราบทันที
  • ไม่ควรแสวงหาประโยชน์จากข้อมูล หรือสิ่งใดๆ ที่ตนรู้เนื่องมาจากตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบ
  • หลีกเลี่ยงการทำงานอื่นนอกเหนือจากการทำงานของบริษัทฯ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่องานในความรับผิดชอบไม่ว่าในด้านใด
  1. การทำธุรกรรมของบริษัทฯ

     การทำธุรกรรมกับบุคคลภายนอกหรือบริษัทอื่นนั้น จะต้องดำเนินการด้วยวิธีการอันชอบธรรมและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงไว้อย่างตรงไปตรงมา หลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายกับบุคคลภายนอก

  • การทำธุรกรรมต้องคำนึงถึงมูลค่า ราคา ที่เป็นไปตามกลไกตลาด ไม่เลือกปฏิบัติ หรือกีดกันการทำธุรกิจด้วยวิธีการที่ไม่ชอบธรรมหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
  • หลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมที่อาจทำให้บริษัทฯ ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง แม้ว่าธุรกรรมนั้นจะทำให้ได้ประโยชน์ทางธุรกิจก็ตาม
  • ห้ามแอบอ้างใช้ชื่อของบริษัทฯ กรรมการบริษัทฯ ฝ่ายจัดการ หรือพนักงาน ในการทำธุรกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ แม้ว่าจะไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อบริษัทฯ ก็ตาม
  1. การทำธุรกรรมกับรัฐ
  • จะต้องหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจจูงใจให้รัฐ หรือพนักงานของรัฐดำเนินการที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม แต่การทำความรู้จักหรือการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันในขอบเขตที่เหมาะสมสามารถทำได้ เช่น การพบปะพูดคุยในที่สาธารณะต่างๆ การไปแสดงความยินดีในวาระโอกาส เทศกาล หรือตามประเพณีปฏิบัติ เป็นต้น
  • ควรดำเนินการอย่างถูกต้องตรงไปตรงมา เมื่อต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานรัฐ
  • ตระหนักอยู่เสมอว่ากฎหมาย กฏเกณฑ์ หรือขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ในแต่ละท้องถิ่นอาจมีเงื่อนไข ขั้นตอน หรือวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกัน
  • ควรปฏิบัติตามกฎหมายในแต่ละประเทศหรือท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการว่าจ้างพนักงานของรัฐ ทั้งในกรณีว่าจ้างมาเป็นที่ปรึกษา หรือเป็นพนักงานของบริษัทฯ โดยเงื่อนไขการว่าจ้างต้องเหมาะสมและโปร่งใส
  1. สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย

     สังคมและสิ่งแวดล้อม

  • สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับสังคมและชุมชน โดยเฉพาะที่อยู่รอบสถานประกอบการของบริษัทฯ
  • ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานตามมาตรฐาน หรือข้อตกลงระดับสากลในเรื่องต่างๆ ที่จัดทำขึ้นเพื่อช่วยป้องกันหรือลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
  • ให้ความร่วมมือในการลดการเกิดขยะหรือของเสียทั้งจากกระบวนการผลิตและการใช้งานทั่วไปด้วยวิธีที่ถูกต้อง
  • ใช้ทรัพยากรวัสดุ อุปกรณ์ หรือวัตถุดิบต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากที่สุด

     สุขภาพและความปลอดภัย

  • มีการตรวจสอบความพร้อมของสุขภาพและร่างกายของตนเองก่อนปฏิบัติงานและไม่ปฏิบัติงานหากสุขภาพและร่างกายไม่พร้อม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการทำงาน
  • ควรรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยด่วนเมื่อพบเห็นสิ่งที่ผิดปกติบริเวณสถานที่ทำงานที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัย
  • ผู้บังคับบัญชาในสายงานต่างๆ มีหน้าที่กำหนดหรือเผยแพร่แนวทางในการป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานให้กับพนักงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  • ให้ความร่วมมือในการตรวจสุขภาพพนักงานตามความเสี่ยงของพนักงาน
  1. การจัดซื้อ/จัดจ้าง
  • การจัดซื้อและจัดจ้างต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตามแนวทางปฏิบัติการจัดซื้อ/จัดจ้างที่บริษัทฯ กำหนด และมีความเป็นธรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในการตัดสินใจต้องคำนึงถึงความสมเหตุสมผลด้านราคา คุณภาพ และการบริการที่ได้รับ รวมทั้งต้องสามารถให้เหตุผลที่เหมาะสมได้เมื่อมีการตรวจสอบ
  • มีการผ่านขั้นตอนตามระเบียบปฏิบัติการจัดซื้อ/จัดจ้างจากหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างเคร่งครัด หากไม่ได้ดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติ หรือไม่ผ่านหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องจัดซื้อ/จัดจ้าง ต้องทำหนังสือชี้แจงเหตุผลของการจัดซื้อ/จัดจ้างนั้นไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ
  • ไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องในการจัดซื้อ/จัดจ้างกับคู่สัญญาที่มีความเกี่ยวพันกับตัวเอง เช่น เป็นครอบครัว ญาติสนิท หรือที่ตนเป็นเจ้าของหรือหุ้นส่วน
  • ไม่ใช้ข้อมูลที่ได้ทราบอันเนื่องมาจากการจัดซื้อ/จัดจ้างเพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
  • การจัดซื้อ/จัดจ้างให้พิจารณาเลือกนิติบุคคลเป็นอันดับแรก โดยหลีกเลี่ยงการจัดซื้อและจัดจ้างกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเฉพาะบุคคล หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการใดๆ ของบริษัทฯ
  • ควรแจ้งผู้ขายหรือผู้ให้บริการให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในการจัดซื้อและจัดจ้างของบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้ให้บริการปฏิบัติไม่ได้ ให้ปรึกษาผู้บังคับบัญชาพิจารณา
  1. การสื่อสารทางการตลาด
  • การใช้เครื่องมือการสื่อสารทางการตลาด เช่น การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การแสดงสินค้าหรือบริการต้องเป็นไปตามความจริง เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
  • หลีกเลี่ยงการสื่อสารทางการตลาดที่เป็นการเปรียบเทียบโดยตรงกับสินค้าและบริการของคู่แข่ง
  • ไม่นำเสนอสิ่งที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม เช่น สถาบันชาติ สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ การเมือง ความเชื่อ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความคิดเห็นเกี่ยวกับเพศ หรือเรื่องที่ขัดต่อศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม
  • ส่งเสริมการนำเสนอเชิงบวก โดยเฉพาะเรื่องที่มีผลกระทบต่อความรู้สึกต่อสังคม
  • มีการทบทวน ตรวจสอบแนวทางการสื่อสารทางการตลาดให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ
  1. การแข่งขันทางการค้า

     บริษัทฯ ตั้งมั่นที่จะแข่งขันทางการค้าอย่างยุติธรรมโดยคำนึงถึงจริยธรรมในการประกอบการค้าและกฎหมายแข่งขันทางการค้าในประเทศต่างๆ ที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจ ดังนี้

  • ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ห้ามไม่ให้มีพฤติกรรมต่อต้านการแข่งขัน
  • ไม่ทำความตกลงใดๆ กับคู่แข่งหรือบุคคลใด ที่มีลักษณะเป็นการลดหรือจำกัดการแข่งขันทางการค้า
  • พนักงานต้องไม่มีส่วนร่วมในสัญญาใดๆ ที่ทำขึ้นกับคู่แข่งซึ่งมีการระบุถึงราคา ตลาด หรือลูกค้าในทางสมยอมกัน
  • การประชุมใดๆ ที่มีขึ้นร่วมกับคู่แข่งนั้น พึงปฏิบัติให้เป็นไปตามจุดประสงค์ทางกฎหมาย เช่น การประชุมของสมาคมการค้าเพื่อหารือประเด็นที่ถูกต้องตามกฎหมาย
  • พนักงานควรได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจก่อนที่จะเข้าร่วมการประชุมใดๆ ก็ตามกับคู่แข่ง ควรเข้าใจว่าประเด็นใดที่สามารถและไม่สามารถหารือร่วมกันได้
  • ให้ทำความเข้าใจในคำแนะนำด้านกฎหมาย และควรมีการหารือกับที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทฯ ในเรื่องการกีดกันทางการค้า
  1. การประกอบธุรกิจในต่างประเทศ

     การประกอบธุรกิจในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นการตั้งบริษัท โรงงาน สำนักงาน สาขา ตัวแทนผู้จัดจำหน่าย หรือการนำเข้า-ส่งออกสินค้า การร่วมทุน หรือการทำธุรกรรมใดๆ ของบริษัทฯ ที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับในแต่ละประเทศ นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นประกอบด้วย

  • ควรศึกษาขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายภาษีอากร กฎหมายควบคุมการค้า กฎหมายว่าด้วยการเข้าเมือง เป็นต้น
  • ปฏิบัติตามกฎหมายและเป็นพลเมืองที่ดีในแต่ละท้องถิ่น ทั้งนี้ การปฏิบัตินั้นต้องไม่ขัดกับจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทฯ
  • การจ้างแรงงานในแต่ละท้องถิ่นต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายแรงงานในแต่ละท้องถิ่นกำหนดไว้
  • รายงานข้อมูลพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าหรือส่งออกต่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการนำเข้าหรือส่งออก
  • ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการค้าระหว่างประเทศในประเทศที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง
  • ปรึกษาผู้บังคับบัญชาหรือที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทฯ เมื่อเห็นว่าธุรกรรมอาจขัดแย้งกับวัฒนธรรมกฎหมายท้องถิ่น หรือกฎหมายควบคุมการค้าระหว่างประเทศ
  • รายงานต่อผู้บังคับบัญชาถึงผลการดำเนินธุรกิจที่อาจเป็นปัญหากับกฎหมายต่างประเทศนั้นอย่างต่อเนื่อง
  1. การปฏิบัติต่อข้อมูลและทรัพย์สิน

     พนักงานและผู้เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการใช้ทรัพย์สินของบริษัทฯ ให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ และดูแลมิให้เสื่อมสูญหายหรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือเพื่อบุคคลอื่นๆ โดยทรัพย์สินของบริษัทฯ หมายถึง สังหาริมทรัพย์ เช่น อุปกรณ์สำนักงาน เครื่องมือ เครื่องจักร ฯลฯ และอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง นอกจากนี้ ยังหมายความไปถึงเทคโนโลยี ความรู้ทางวิชาการ เอกสารสิทธิ ทรัพย์สินทางปัญญา ข้อมูลความลับของบริษัทฯ ด้วย

     การบันทึก การรายงาน และการเก็บรักษาข้อมูล

  • พนักงานทุกคนมีหน้าที่บันทึกและรายงานข้อมูลต่างๆ อย่างถูกต้องตามข้อเท็จจริง
  • จัดเก็บรักษาข้อมูลอย่างระมัดระวัง และง่ายต่อการเรียกใช้โดยข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องได้รับการดูแลด้วยวิธีการเฉพาะตามที่กำหนดไว้แต่ละระดับ ตามชนิดหรือประเภทของข้อมูล
  • เมื่อถึงเวลาต้องทำลาย พนักงานที่เกี่ยวข้องดูแล ควรจัดการให้มีการทำลายที่เหมาะสม ถูกกฎหมายกับข้อมูลแต่ละประเภท

     การใช้ และการดูแลรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

  • บริษัทฯ สงวนสิทธิ์ในการจัดหา ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดตามความเหมาะสมกับลักษณะงานของพนักงาน พนักงานจะต้องไม่ติดตั้ง ปรับแต่ง เปลี่ยนแปลงค่าต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจ
  • พนักงานต้องปฏิบัติตามนโยบายและระเบียบในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้กำหนดไว้ เพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ เท่านั้น ไม่ใช้เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของตนหรือเพื่อประโยชน์ทางการเมือง
  • ไม่ใช้อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ไปในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทฯ ต่อผู้อื่น หรือต่อศีลธรรมอันดีของสังคมไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม
  • ปกป้อง ดูแลรักษาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีต่างๆ จากการใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • เก็บรักษา และไม่ยินยอมให้ผู้อื่นใช้รหัสผ่านสำหรับการเข้าระบบสารสนเทศของบริษัทฯ
  • ใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  • การทำซ้ำซอฟต์แวร์ต้องได้รับอนุมัติจากบริษัทฯ เท่านั้น
  • บริษัทฯ มีสิทธิตวจสอบการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ เช่น การรับส่งข้อมูล การเก็บข้อมูล โดยไม่จำเป็นต้องได้รับอนุญาต

     การใช้ และการดูแลรักษาทรัพย์สินทางปัญญา

  • บริษัทฯ ถือว่าทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งรวมถึงสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายทางการค้า ความลับ องค์ความรู้ หรือข้อมูลอื่นใด เป็นทรัพย์สินที่มีค่าของบริษัทฯ โดยต้องปกป้องดูแลรักษา
  • ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่ถือเป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ เว้นแต่ในกรณีที่บริษัทฯ ได้อนุญาตอย่างชัดเจนว่าให้ถือเป็นผลงานของผู้คิดค้น ผู้ประดิษฐ์ ผู้วิจัย หรือบุคคลอื่นใด
  • ในการทำงานพนักงานจะต้องดูแลรักษารายงาน ข้อมูล สูตร สถิติ โปรแกรม วิธีการ กระบวนการ และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทฯ ไม่ให้ถูกล่วงละเมิด และไม่เปิดเผยให้กับผู้ใด เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัทฯ
  • ไม่นำทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทฯ ไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือกระทำการใดๆ เพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นโดยไม่ได้อนุญาตจากบริษัทฯ
  • พนักงานมีหน้าที่รายงานต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่รับผิดชอบเมื่อพบการกระทำที่เห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิ อาจนำไปสู่การละเมิดสิทธิ หรือการกระทำที่อาจก่อให้เกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทฯ
  • เมื่อพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานจะต้องส่งมอบทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงผลงาน สิ่งประดิษฐ์ ข้อมูล รายงาน สถิติ สูตร โปรแกรม วิธีการ กระบวนการ คืนให้แก่บริษัทฯ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เก็บไว้ในรูปแบบใดๆ
  1. การดำเนินการด้านการเมือง
  • บริษัทฯ วางตัวเป็นกลางทางการเมือง ไม่กระทำการอันเป็นการฝักใฝ่หรือสนับสนุนพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง หรือผู้หนึ่งผู้ใดที่มีอำนาจทางการเมือง
  • พนักงานต้องไม่เข้าไปเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมืองที่เป็นความสนใจส่วนตัวในระหว่างชั่วโมงการทำงานของบริษัทฯ หรือโดยใช้ทรัพยากรของบริษัทฯ (เช่น อีเมล โทรศัพท์) โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจ
  • ไม่ใช้งบประมาณของบริษัทฯ ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองหรือหน้าที่ทางสังคม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจ
  • บริษัทฯ ตระหนักและให้ความเคารพในสิทธิเสรีภาพการใช้สิทธิทางการเมือง เช่น การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
  1. การป้องกันการฟอกเงิน
  • บริษัทฯ จะไม่รับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สิน หรือสนับสนุนให้มีการรับ โอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดใช้บริษัทฯ เป็นช่องทางหรือเป็นเครื่องมือในการถ่ายเท ปกปิด หรืออำพรางแหล่งที่มาของทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
  1. การต่อต้านการคอร์รัปชัน
  • กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ต้องไม่กระทำหรือยอมรับการคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • หากพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายการทุจริต หรือส่อไปในทางทุจริต ที่มีผลเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ต้องไม่ละเลยหรือเพิกเฉยต่อพฤติกรรมดังกล่าว ควรแจ้งให้ผู้มีหน้าที่รับแจ้งเบาะแสทราบทันที และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง
  • ผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนจะได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสมจากบริษัทฯ เช่น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน ลักษณะงาน สถานที่ทำงาน พักงาน ข่มขู่ รบกวนการปฏิบัติงาน หรือเลิกจ้าง หรือทำการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติอย่างผิดปกติวิสัย หรือไม่เป็นธรรมต่อผู้นั้น
  • บริษัทฯ จะไม่ลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลทางลบต่อกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ที่ปฏิเสธการคอร์รัปชัน แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทฯ สูญเสียโอกาสทางธุรกิจ
  • การให้เงินบริจาคเพื่อการกุศลหรือเงินสนับสนุน ต้องเป็นไปอย่างโปร่งใสและถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติที่บริษัทฯ กำหนด
  • การใช้บุคคลที่สามเพื่อติดต่องานกับเจ้าหน้าที่รัฐ จะต้องไม่เป็นการผ่องถ่ายสินบนให้บุคคลที่สาม
  • บริษัทฯ สื่อสารให้บุคคลภายนอกรับทราบว่าบริษัทฯ มีนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันทุกรูปแบบผ่านหลายช่องทาง ตามที่ระบุไว้ในนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน

บทลงโทษ

                  จรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทฯ ถือเป็นวินัยที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบริษัทฯ ถือเป็นการปฏิบัติที่ขัดแย้งกับนโยบายและระเบียบปฏิบัติของบริษัทฯ และการกระทำฝ่าฝืนใดๆ อันเป็นเหตุให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหายหรือสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ ผู้ที่ฝ่าฝืนจะได้รับโทษตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทฯ นอกจากนี้อาจได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นๆ ผิดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย

นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน (Anti-corruption Policy)

บริษัท โตโยกซ์ เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด

บริษัท โตโยกซ์ เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความสุจริต โปร่งใส และเป็นธรรม โดยยึดหลักธรรมาภิบาล จริยธรรม และคุณธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย บริษัทได้ประกาศแสดงเจตนารมณ์เป็น “แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต” เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการต่อต้านการคอร์รัปชันทุกรูปแบบ

เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทมีนโยบายกำหนดความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการคอร์รัปชันกับทุกกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัท และเพื่อให้การตัดสินใจ รวมถึงการดำเนินการทางธุรกิจที่อาจมีความเสี่ยงด้านการคอร์รัปชันได้รับการพิจารณาและปฏิบัติอย่างรอบคอบ บริษัทจึงได้จัดทำ “นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน” เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ และพัฒนาองค์กรสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน

  1. วัตถุประสงค์
    • เพื่อเป็นการแสดงออกถึงเจตนารมณ์ของบริษัทในการต่อต้านการคอร์รัปชัน
    • เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
    • เพื่อให้การตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่อการคอร์รัปชันเป็นไปอย่างรัดกุม รอบคอบ และเหมาะสม
    • เพื่อสนับสนุนให้มีการเฝ้าระวังและรายงานการพบเห็นการคอร์รัปชันผ่านช่องทางการแจ้งเบาะแสที่กำหนดไว้
  1. ขอบเขต

นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันฉบับนี้มีผลบังคับใช้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนของบริษัท โดยให้ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน บริษัทมุ่งหวังให้ตัวแทนหรือตัวกลางทางธุรกิจ ที่มีความเกี่ยวข้องหรือกระทำการในนามบริษัท มีแนวทางในการปฏิบัติงานตามนโยบายฉบับนี้ด้วย

  1. คำนิยามตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน

การคอร์รัปชัน หมายถึง การปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติในตำแหน่งหน้าที่ หรือการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการให้หรือรับสินบน การนำเสนอ หรือการให้คำมั่นว่าจะให้ การขอ หรือการเรียกร้อง ทั้งที่เป็นทรัพย์สิน เงิน สิ่งของ สิทธิหรือผลประโยชน์อื่นใด ที่เป็นการขัดต่อศีลธรรม จริยธรรม และกฎหมาย กฎ ระเบียบ นโยบาย ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลอื่นใดที่ดำเนินธุรกิจกับบริษัท ไม่ว่าในประเทศ หรือต่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์อันมิควรได้ ทั้งต่อบริษัท ตนเอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง

การให้สินบน หมายถึง การกระทำในรูปแบบใดๆ ที่เป็นการเสนอ การให้สัญญา การมอบให้ การยอมรับ การเรียกร้อง ที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ในลักษณะที่เป็นการจูงใจให้มีการปฏิบัติใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ

การให้ของขวัญ หมายถึง การมอบเงิน บัตรกำนัล สิ่งมีค่า สินค้า และบริการ ไม่ว่าจะเป็นการให้โดยตรงหรือเป็นการขายให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานในราคาพิเศษ นอกจากนี้ยังรวมถึงการมอบสิ่งของให้ตามมารยาทที่ปฏิบัติในสังคม หรือภายใต้จารีตประเพณีท้องถิ่น เช่น ของขวัญปีใหม่ ของขวัญวันเกิด ของขวัญในโอกาสรับตำแหน่งใหม่ เป็นต้น

การเลี้ยงรับรอง หมายถึง การเลี้ยงอาหาร การจัดกิจกรรมสันทนาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางธุรกิจ หรือเป็นจารีตการค้า รวมถึงการให้ความเข้ารู้ความเข้าใจทางธุรกิจ

การสนับสนุน หมายถึง การให้เงิน สิ่งมีค่า หรือบริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงการสนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานรัฐ และเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ การส่งเสริมตราผลิตภัณฑ์หรือชื่อเสียงของบริษัท อันเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความน่าเชื่อถือทางการค้า ช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจ

การบริจาค หมายถึง การให้เงิน สินค้า ของมีค่า หรือบริการในรูปแบบของการบริจาค เป็นต้น

เจ้าหน้าที่รัฐ หมายถึง พนักงานของหน่วยงานภาครัฐ เช่น ผู้ตรวจสอบภาษี เจ้าหน้าที่ศุลกากร เจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานของหน่วยงานภาครัฐหรือบริษัทที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐหรือหน่วยงานระหว่างประเทศภาคสาธารณะ ผู้สมัครดำรงตำแหน่งหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

คู่ค้า หมายถึง บริษัท ห้างหุ้นส่วน ธุรกิจ บุคคล บุคคลที่สาม หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัท

บุคคลที่สาม หมายถึง บุคคลภายนอก บริษัทคู่ค้า หรือเอเย่นต์ที่ได้เข้ามาช่วยเหลือในการติดต่องานราชการหรือกับคู่ค้า

เอเย่นต์ หมายถึง ตัวแทน บุคคล หรือบริษัท ที่เป็นตัวแทนทางด้านธุรกิจเฉพาะด้านให้กับบริษัท

  1. นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน
    • บริษัทไม่ยอมรับการคอร์รัปชัน โดยครอบคลุมถึงธุรกิจและรายการทั้งหมดทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันอย่างเคร่งครัด
    • กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทไม่ยอมรับการคอร์รัปชันไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว เพื่อน หรือคนรู้จัก ในทุกรูปแบบ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชันอย่างเคร่งครัด
    • บริษัทจัดให้มีการสอบทานการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันนี้อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทบทวนแนวทางปฏิบัติและข้อกำหนดในการดำเนินการ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดของกฎหมาย
    • บริษัทกำหนดได้แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการต่อต้านการคอร์รัปชัน (Code of Conduct) เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามนโยบายนี้ ทั้งนี้ บริษัทจะสอบทานขั้นตอนการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันนี้อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทบทวนแนวทางการปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดของกฎหมาย
    • บริษัทจะสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นว่าการคอร์รัปชันเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ทั้งการทำธุรกรรมกับหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน
  1. ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการต่อต้านการคอร์รัปชัน
    5.1หน้าที่ความรับผิดชอบ
    • กรรมการบริษัท มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้
  • กำหนดนโยบายและกำกับดูแลให้มีระบบสนับสนุนการต่อต้านการคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจของบริษัทเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ และฝ่ายบริหารได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการต่อต้านการคอร์รัปชันและปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร
    • ฝ่ายบริหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้
  • ตรวจสอบระบบควบคุมภายใน เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจมีความโปร่งใส เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานสากล
  • นำนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันไปปฏิบัติ โดยกำหนดให้มีระบบและให้การส่งเสริม รวมถึงสนับสนุนนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน และสื่อสารไปยังพนักงาน คู่ค้า และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตรการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับและข้อกำหนดของกฎหมาย
  • ตรวจสอบการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบาย เพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบควบคุมที่มีความเหมาะสมต่อความเสี่ยงด้านคอร์รัปชันที่อาจเกิดขึ้น และรายงานผลการตรวจสอบต่อกรรมการบริษัท
    • คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมดขององค์กร ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงด้านการคอร์รัปชัน
    • ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ มีหน้าที่สื่อสารทำความเข้าใจกับพนักงานเพื่อให้กิจกรรมทางธุรกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบเป็นไปอย่างถูกต้องตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน
    • ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ มีหน้าที่เผยแพร่ความรู้ และสร้างความเข้าใจให้พนักงานทุกระดับยึดถือและปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันอย่างจริงจัง และเสริมสร้างให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
      5.2 แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการต่อต้านการคอร์รัปชัน
    • กรรมการบริษัท ฝ่ายบริหาร และพนักงานทุกระดับ มีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน และจะต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันทั้งทางตรงและทางอ้อม
    • กรรมการบริษัท ฝ่ายบริหาร และพนักงานทุกระดับ จะต้องมีความมุ่งมั่นต่อการสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการคอร์รัปชัน
    • กรรมการบริษัท ฝ่ายบริหาร และพนักงานทุกระดับไม่พึงละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายการคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับบริษัท พนักงานต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ หากมีข้อสงสัยหรือข้อซักถาม ให้ปรึกษาผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่กำหนดให้ทำหน้าที่รับผิดชอบ ผ่านช่องทางต่างๆ ที่กำหนดไว้
    • บริษัทให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองพนักงาน ที่ปฏิเสธหรือแจ้งเรื่องคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับบริษัท โดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการคอร์รัปชัน ตามที่บริษัทกำหนดไว้ในนโยบายการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน (Whistle Blowing Policy)
    • บริษัทให้ความสำคัญในการเผยแพร่ ให้ความรู้ กับคู่ค้า ให้รับทราบถึงนโยบายและร่วมมือในการต่อต้านการคอร์รัปชันผ่านสื่อทั้งภายในและภายนอก เช่น เว็บไซต์ของบริษัท หลักสูตรปฐมนิเทศพนักงาน การสัมมนาและการอบรมของบริษัท เป็นต้น
    • พนักงานลงนามรับทราบนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน เพื่อยืนยันว่าพนักงานทุกคนรับทราบ เข้าใจ และพร้อมจะนำหลักการในนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน เป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินงานด้วยความเคร่งครัดทั่วทั้งองค์กร
    • บริษัทจัดให้มีระเบียบการเบิกจ่ายโดยกำหนดตารางอำนาจอนุมัติ และวงเงินในการอนุมัติ ซึ่งการเบิกจ่ายต้องมีเอกสารหลักฐานที่ชัดเจนประกอบ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสม และเพื่อให้มั่นใจว่าการบริจาคเพื่อการกุศลไม่ได้เป็นไปเพื่อการคอร์รัปชัน และเงินสนับสนุนเพื่อธุรกิจไม่ได้ใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการคอร์รัปชัน
    • ผู้ที่กระทำผิดหรือมีส่วนร่วมในการให้สินบน ให้ถือเป็นการกระทำผิดข้อปฏิบัติของบริษัท ซึ่งต้องถูกลงโทษทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทได้กำหนดไว้ และมีความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  1. ข้อกำหนดในการดำเนินการเกี่ยวกับการต่อต้านการคอร์รัปชัน
    • นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันนี้ครอบคลุมถึงกระบวนการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ ตั้งแต่การสรรหา การคัดเลือกบุคลากร การปฐมนิเทศ การฝึกอบรม การประเมินผลงาน การเลื่อนตำแหน่งและขึ้นเงินเดือน โดยผู้บังคับบัญชาทุกระดับต้องสื่อสารทำความเข้าใจกับพนักงาน และควบคุมดูแลพนักงานให้ปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัด
    • ห้ามกรรมการบริษัท ฝ่ายบริหาร และพนักงานทุกระดับ จ่ายหรือยอมรับการให้สินบนทุกรูปแบบใด ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม โดยครอบคลุมถึงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้มีการสอบทานปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันนี้อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทบทวนแนวทางการปฏิบัติและข้อกำหนดในการดำเนินการ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดของกฎหมาย
    • กรรมการบริษัท ฝ่ายบริหาร และพนักงานทุกระดับต้องรายงานข้อเท็จจริงเมื่อพบการถูกเรียกรับสินบน หรือมีคนในบริษัทเสนอหรือให้สินบน ต่อผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบรับทราบโดยทันที
    • การดำเนินการใดๆ ตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน ให้ใช้แนวปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในคู่มือปฏิบัติงานของบริษัทที่เกี่ยวข้อง
    • กรรมการบริษัท ฝ่ายบริหาร และพนักงานทุกระดับ ต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวังในเรื่องดังต่อไปนี้
    • การให้และรับของขวัญ การเลี้ยงรับรอง และผลประโยชน์อื่นใด บริษัทไม่มีนโยบายในการให้หรือรับทรัพย์สิน หรือของมีค่า หรือผลประโยชน์ใดๆ จากลูกค้า คู่ค้า บุคคลที่สาม เอเย่นต์ ซัพพลายเออร์ หน่วยงานภาครัฐ หรือบุคคลใดๆ เพื่อเป็นการชักจูงใจให้กระทำผิดในวิชาชีพ หรือเพื่ออำนวยความสะดวก เพื่อใช้เป็นหลักประกันหรือเพื่อเร่งการดำเนินการบางอย่างซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัทหรือคู่ค้าต้องทำเป็นกิจวัตร หรือต้องปฏิบัติตามหน้าที่ ยกเว้นของขวัญที่มีมูลค่าไม่เกิน 3,000 บาท มอบให้ตามธรรมเนียมและมารยาท เหมาะสมกับประเพณีและวัฒนธรรมตามโอกาส โดยต้องได้รับอนุมัติจากพนักงานที่มีอำนาจสั่งจ่ายเงิน พร้อมหลักฐานเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับการดำเนินงานดังกล่าวและต้องสามารถชี้แจงการกระทำต่างๆ ของตนเอง ทั้งต่อภายในและภายนอก
    • การบริจาคเพื่อการกุศล สาธารณะประโยชน์ และเงินสนับสนุน ต้องเป็นไปอย่างโปร่งใสและถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีหลักฐานที่ชัดเจน สอดคล้องกับขั้นตอนการอนุมัติและการสอบทานตามระเบียบของบริษัท และจัดให้มีขั้นตอนการติดตามอย่างเหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าการบริจาคเพื่อการกุศลไม่ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นข้ออ้างสำหรับการติดสินบนหรือไม่ได้ปฏิบัติเพื่อการคอร์รัปชัน
    • การใช้บุคคลที่สามเพื่อติดต่องานกับเจ้าหน้าที่รัฐ จะต้องไม่เป็นการผ่องถ่ายสินบนให้บุคคลที่สาม
    • ความสัมพันธ์ทางธุรกิจและการจัดซื้อจัดจ้างกับภาครัฐ ห้ามให้หรือรับสินบนในการดำเนินธุรกิจทุกชนิด การดำเนินงานของบริษัทและการติดต่องานกับภาครัฐจะต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส ซื่อสัตย์และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    • กรรมการบริษัท ฝ่ายบริหาร และพนักงานทุกระดับ ห้ามให้หรือรับสินบนในการดำเนินธุรกิจทุกชนิด การดำเนินงานของบริษัทที่ต้องติดต่องานกับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐ จะต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส ซื่อสัตย์ ตรวจสอบได้ และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  1. แนวปฏิบัติในการจัดเก็บ การเข้าถึง การรักษา และการสำรองข้อมูลทางการเงิน

เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรายการทางการเงินและการบัญชีจะต้องมีการจัดเก็บเอกสารจริงเรียงเข้าแฟ้มแยกตามประเภทและวันที่ที่เกิดรายการในการบันทึกบัญชีแยกประเภท โดยแฟ้มเก็บเอกสารตัวจริงที่มีระยะเวลาภายในช่วง 1 ปี นับจากวันที่บันทึกรายการจะถูกเก็บที่บริเวณตู้เอกสารของฝ่ายบัญชี ส่วนแฟ้มเอกสารที่มีระยะเวลาเกิน 1 ปี จะถูกจัดเก็บใส่กล่องแยกตามประเภทรายการบัญชีไว้ที่ห้องเก็บเอกสารของบริษัทจะถูกจัดเก็บไว้ที่ห้องเก็บเอกสารฝ่ายบัญชี

  1. บทลงโทษ

พนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจใดๆ ก็ตาม ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนโยบายหรือกระทำความผิดฐานคอร์รัปชันหรือให้สินบน จะถูกลงโทษทางวินัยขั้นรุนแรง รวมถึงถูกไล่ออก หรือยกเลิกสัญญาจ้าง แล้วแต่กรณี และนอกจากนั้น ยังอาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องอีกด้วย โดยคณะกรรมการพิจารณาลงโทษของบริษัทจะเป็นผู้พิจารณาบทลงโทษตามความเหมาะสม

  1. นโยบายการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน (Whistle Blowing Policy)

บริษัทเปิดโอกาสให้พนักงาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือบุคคลทั่วไป แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการคอร์รัปชัน โดยสามารถแจ้งผ่านช่องทางดังต่อไปนี้

ช่องทางแจ้งเบาะแสหรือร้องเรียน

ทางไปรษณีย์

นายนที อ่อนอิน
กรรมการผู้จัดการ

บริษัท โตโยกซ์ เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด                       

122 ถ.รามคำแหง แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ 10240

อีเมล: natee@toyoxthai.com

มาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน           

  • ผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนจะได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสมจากบริษัท เช่น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน ลักษณะงาน สถานที่ทำงาน พักงาน ข่มขู่ รบกวนการปฏิบัติงาน หรือเลิกจ้าง หรือทำการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติอย่างผิดปกติวิสัย หรือไม่เป็นธรรมต่อผู้นั้น
  • หน่วยงานที่รับเรื่องร้องเรียนจะต้องดำเนินเรื่องการรายงานอย่างเป็นความลับ โดยจะไม่เปิดเผยต่อบุคคลอื่น เพื่อคำนึงถึงความปลอดภัยและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน แหล่งที่มาของข้อมูล หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่ กรณีที่มีความจำเป็นในขั้นตอนการดำเนินการตามนโยบายนี้ หรือตามที่กฎหมายกำหนด

กระบวนการพิจารณาข้อร้องเรียน

  • เมื่อได้รับการแจ้งเบาะแส ฝ่ายบริหารจะเป็นผู้กลั่นกรอง สืบสวนข้อเท็จจริง
  • ระหว่างการสืบสวนข้อเท็จจริง ฝ่ายบริหารอาจมอบหมายให้ตัวแทนภายในคณะทำงาน แจ้งความคืบหน้าเป็นระยะให้ผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียนได้ทราบ
  • หากมีการสืบสวนข้อเท็จจริงแล้วพบว่า มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาได้กระทำการคอร์รัปชันจริง บริษัทจะให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบข้อกล่าวหา และให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาพิสูจน์ตนเอง โดยการหาข้อมูลหรือหลักฐานเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่า ตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำตามที่ได้ถูกกล่าวหา
  • หากผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำความผิดจริง ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำผิดต่อแนวปฏิบัติและจรรยาบรรณทางธุรกิจของบริษัท ผู้ถูกกล่าวหาจะต้องได้รับการสอบสวนและพิจารณาโทษทางวินัย ตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทที่ได้กำหนดไว้
  1. การทบทวนนโยบาย

นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน จะมีการทบทวนนโยบายตามความจำเป็นและเหมาะสมทุก 2 ปี หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อให้เป็นปัจจุบัน

ตะกร้าสินค้า0
ไม่มีสินค้าอยู่ในตะกร้า
ขอบคุณที่สนใจบริการของเรา

เราจะติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด